reanooanirut

A great WordPress.com site


ใส่ความเห็น

จุดประสงค์การเรียนรู้

emo181)  ทดสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่า  pH  กับสมบัติความเป็นกรด – เบสของสารละลายได้

emo182)  บอกความหมายและประโยชน์ของค่า  pH

emo18 3)  สรุปความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับความเป็นกรด – เบส  ของสารละลายได้

emo18 4)  ยกตัวอย่างกรด – เบสที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

101-17101-17pucca_garu_11101-17101-17101-17


ใส่ความเห็น

เนื้อหาบทเรียน

e2_05สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์

e2_05 สารละลายกรดและสารละลายเบส

    e2_02ไอออนในสารละลายกรด  

   e2_02 ไอออนในสารละลายเบส

e2_05ทฤษฎีกรด-เบส

e2_05คู่กรด – เบส

e2_05การแตกตัวของกรดและเบส

    e2_02การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่

    e2_02การแตกตัวของกรดอ่อน

    e2_02การแตกตัวของเบสอ่อน

e2_05การแตกตัวเป็นไอออนของน้ำ 

     e2_02การเปลี่ยนความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนและไฮดรอกไซด์ไอออนในน้ำ 

e2_05pH ของสารละลาย

e2_05อินดิเคเตอร์สำหรับกรด – เบส

e2_05สารละลายกรด – เบสในชีวิตประจำวันและในสิ่งมีชีวิต

e2_05ปฏิกิริยาของกรดและเบส

      e2_02ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส

      e2_02ปฏิกิริยาของกรดหรือเบสกับสารบางชนิด

      e2_02ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส

e2_05การไทเทรตกรด – เบส

      e2_02อินดิเคเตอร์กับการไทเทรตกรด – เบส

      e2_02การประยุกต์ใช้วิธีการไทเทรตในชีวิตประจำวัน

e2_05สารละลายบัฟเฟอร์

threedancersqc7  threedancersqc7threedancersqc7


ใส่ความเห็น

                 อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีไอออนซึ่งอาจจะเป็นไอออนบวก หรือไอออนลบเคลื่อนที่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3 เป็นต้น โดยในสารละลายดังกล่าวประกอบด้วยไอออน H+ , Cl , OH , K+ และ NO3 – ตามลำดับ

               นอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolyte) หมายถึง สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่อละลายน้ำ ทั้งนี้เนื่องจาก สารพวกนอนอิเล็กโทรไลต์ จะไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์ น้ำตาล แอลกอฮอล์ เป็นต้น ความแตกต่างของสารอิเล็กโทรไลต์และนอน- อิเล็กโทรไลต์ พิจารณาจากสาร 2 ชนิด เมื่อละลายน้ำจะรวมกับน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

ภาพการเป็นอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ของสาร

อิเล็กโทรไลต์แก่และอิเล็กโทรไลต์อ่อน

    สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต่างๆ นำไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากการแตกตัวเป็นไอออนของอิเล็กโทรไลต์ไม่เท่ากัน อิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่า ก็จะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้น้อยกว่า อิเล็กโทรไลต์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

      1. อิเล็กโทรไลต์แก่ (strong electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้มาก อาจจะแตกตัวได้ 100% และนำไฟฟ้าได้ดีมาก เช่น กรดแก่ และเบสแก่ และเกลือส่วนใหญ่จะแตกตัวได้ 100% เป็นต้น

ตัวอย่างสมการแสดงการแตกตัวของสารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่

     2. อิเล็กโทรไลต์อ่อน (weak electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวได้บางส่วน นำไฟฟ้าได้น้อย

ตัวอย่างสมการแสดงการแตกตัวของสารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน

ตารางตัวอย่างของอิเล็กโทรไลต์แก่ และอิเล็กโทรไลต์อ่อนบางชนิด

อิเล็กโทรไลต์แก่(นำไฟฟ้าได้ดี)
อิเล็กโทรไลต์อ่อน(นำไฟฟ้าได้ไม่ดี)
เกลือที่ละลายน้ำทั้งหมด
H2SO4
HNO3
HCI
HBr
HCIO4
NaOH
KOH
Ca(OH)2
Ba(OH)2
CH3COOH
H2CO3
HNO2
H2SO3
H2S
H2C2O4
H3BO3
HCIO
NH4OH
HF

 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารละลายของเราเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์หรือเปล่า? อ่านเพิ่มเติม


ใส่ความเห็น

จากการศึกษาสมบัติของสารละลาย พบว่า สารละลายกรดและสารละลายเบส เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ นำไฟฟ้าได้ เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส ทำปฏิกิริยากับโลหะและเกลือ กรดและเบสสามารถแตกตัวเป็นไอออน เมื่อเป็นสารละลาย เราจะศึกษาต่อไปถึงไอออนในสารละลายกรดและเบส ซึ่งทำให้สารละลายแสดงสมบัติเฉพาะตัวดังกล่าว

     ไอออนในสารละลายกรด

ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือ H+ หรือ เมื่อรวมกับน้ำได้เป็น H3O+      ( ไฮโดรเนียมไอออน) ทำให้กรดมีสมบัติเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากกรด HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และ น้ำต่างก็เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl และน้ำ โดยที่โปรตอน ( H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน            (H+ + H2O ®H3O+) ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ

(ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/43857)

               ไฮโดรเนียมไอออนในน้ำไม่ได้อยู่เป็นไอออนเดียว แต่จะมีน้ำหลายโมเลกุลมาล้อมรอบอยู่ด้วย เช่น อาจอยู่ในรูปของ H5O2+, H7O3+ , H9O4+ เป็นต้น


ใส่ความเห็น

จากการศึกษาสมบัติของสารละลาย พบว่า สารละลายกรดและสารละลายเบส เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ นำไฟฟ้าได้ เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส ทำปฏิกิริยากับโลหะและเกลือ กรดและเบสสามารถแตกตัวเป็นไอออน เมื่อเป็นสารละลาย เราจะศึกษาต่อไปถึงไอออนในสารละลายกรดและเบส ซึ่งทำให้สารละลายแสดงสมบัติเฉพาะตัวดังกล่าว

ไอออนในสารละลายกรด

             ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือ H+ หรือ เมื่อรวมกับน้ำได้เป็น H3O+      ( ไฮโดรเนียมไอออน) ทำให้กรดมีสมบัติเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากกรด HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และ น้ำต่างก็เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้ว ทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl และน้ำ โดยที่โปรตอน ( H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน            (H+ + H2O ®H3O+) ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ

(ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/43857)

             ไฮโดรเนียมไอออนในน้ำไม่ได้อยู่เป็นไอออนเดียว แต่จะมีน้ำหลายโมเลกุลมาล้อมรอบอยู่ด้วย เช่น อาจอยู่ในรูปของ H5O2+, H7O3+ , H9O4+ เป็นต้น


ใส่ความเห็น

ไอออนในสารละลายเบส

ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือ ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH ) ซึ่งทำให้เบสมีสมบัติเหมือนกัน และมีสมบัติต่างไปจากกรด ตัวอย่างเช่น เมื่อ NaOH ละลายน้ำจะแตกตัวได้ OHดังนี้

(ที่มา: http://www.thaigoodview.com/node/43857)


ใส่ความเห็น

ในการที่จะให้นิยามของกรด- เบส และในการจำแนกสารต่างๆ ว่าเป็นกรดหรือเบสนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาและตั้งทฤษฎีกรด- เบส ขึ้นหลายทฤษฎีด้วยกัน ทฤษฎีกรด- เบสที่สำคัญมีดังนี้

ทฤษฎีกรด- เบสของอาร์เรเนียส

อาร์เรเนียส เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ตั้งทฤษฎีกรด- เบส ในปี ค. ศ. 1887 ( พ. ศ. 2430) อาร์เรเนียสศึกษาสารที่ละลายน้ำ (Aqueous solution) และการนำไฟฟ้าของสารละลายนั้น เขาพบว่าสารอิเล็กโทรไลต์จะแตกตัวเป็นไอออน เมื่อละลายอยู่ในน้ำและให้นิยามกรดไว้ว่า

“กรด คือ สารที่เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน” เช่น

“ เบส คือ สารที่เมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน” เช่น

อ่านเพิ่มเติม


ใส่ความเห็น

           จากปฏิกิริยาของกรดกับเบสที่กล่าวถึงแล้ว ตามทฤษฎีของเบรินสเตต- ลาวรี จะเห็นว่าในปฏิกิริยาหนึ่งๆ อาจจะจัดคู่กรด- เบสได้ 2 คู่ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างที่ 1 

                                       (ที่มา : http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_15.html)

               จากสมการ NH3 เป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อนแตกตัวได้ไม่หมดเกิดปฏิกิริยาผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า H2O เป็นกรด เพราะให้โปรตอนแก่ NH3 ส่วน NH3 เป็นเบส เพราะรับโปรตอนจาก H2O ปฏิกิริยาย้อนกลับ NH4+ เป็นกรดเพราะ ให้โปรตอนแก่ OH ส่วน OH ป็นเบสเพราะรับโปรตอนจาก NH4+ นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2 

(ที่มา: http://wps.prenhall.com/wps/media/objects/602/616516/Chapter_15.html)

          จากสมการ HF เป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อนแตกตัวได้ไม่หมดเกิดปฏิกิริยาผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า HF เป็นกรด เพราะให้โปรตอนแก่ HS ส่วน HS เป็นเบส เพราะรับโปรตอนจาก HF ปฏิกิริยาย้อนกลับ H2S เป็นกรดเพราะ ให้โปรตอนแก่ F ส่วน F เป็นเบสเพราะรับโปรตอนจาก H2S นั่นเอง

             จะเห็นได้ว่า คู่กรด- เบสนั้นจะมีจำนวนโปรตอน (H) ต่างกัน 1 ตัว หรืออาจกล่าวได้ว่า จำนวนโปรตอนของคู่กรด จะมากกว่าโปรตอนคู่เบสอยู่ 1 ตัวเสมอ